วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551


การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ

1.ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง แผนการทำงานก็ได้

2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน

3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด

4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว
ความสำคัญของการออกแบบ เช่น - ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง แผนการทำงานก็ได้ - ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน - เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด - แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละคร

แบบ เป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของ นักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้ คือ 1. เป็นภาพวาดลายเส้น (drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures) หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง ภาพพิมพ์ (Printing) ฯลฯ ภาพต่าง ๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ 2. เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดง รายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้ สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้ เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสมารถใช้ในการทดลอง และทดสอบการทำงาน เพื่อหา ข้อบกพร่องได้

นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง แบบ เป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของ นักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. เป็นภาพวาดลายเส้น (drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures) หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง ภาพพิมพ์ (Printing) ฯลฯ ภาพต่าง ๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ

2. เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดง รายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้ สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้ เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสมารถใช้ในการทดลอง และทดสอบการทำงาน เพื่อหา ข้อบกพร่องได้

ประเภทของการออกแบบ 1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อ การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัยตกรรมได้แก่- สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า โบสถ์ วิหาร ฯลฯ - สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร - สถาปัตยกรรมภายใน เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร - งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม - งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ ผลิตภัณฑ์ งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่ - งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ - งานออกแบบครุภัณฑ์ - งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์ - งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ - งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี - งานออกแบบเครื่องแต่งกาย- งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ - งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ
3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต บางอย่างต้องทำงาน ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่ - งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า - งานออกแบบเครื่องยนต์ - งานออกแบบเครื่องจักรกล - งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร - งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ฯลฯ
4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่ - งานตกแต่งภายใน (Interior Design) - งานตกแต่งภายนอก (Exterior Design) - งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design) - งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display) - การจัดนิทรรศการ (Exhibition) - การจัดบอร์ด - การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ฯลฯ
5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design) เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่าง ๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ฯลฯ


ขั้นตอนในกระบวนการออกแบบระบบ (Step in the system design process)
คุณลักษณะของหน่วยแสดงผล (Output specification) :: เนื้อหา, รูปร่าง, ปริมาณ, ทันเวลา, สื่อ, รูปและขนาด
คุณลักษณะของหน่วยนำเข้าข้อมูล (Input specification) :: เนื้อหา, ทันเวลา, สื่อ, รูปขนาด, ปริมาณ
คุณลักษณะของหน่วยประมวลผล (Processing specification) :: การคำนวณ, ประยุกต์ใช้, โปรแกรมระบบ, อุปกรณ์ในการคำนวณ
คุณลักษณะส่วนจัดเก็บข้อมูล (Storage specification) :: การเข้าถึง, การจัดการข้อมูล, ปริมาณ, สื่อ
คุณลักษณะกระวบนการปฏิบัติ (Procedure specification) :: งาน, การควบคุม
คุณลักษณะบุคลากร (Personnel specification) :: งาน, คุณวุฒิ, การอบรม



แหล่งที่มา : http://www.prc.ac.th/newart/webart/design01.html
http://www.mew6.com/composer/art/design.php
http://www.thaiall.com/mis/mis15.htm

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์....

มาตรการทางกฎหมาย ที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายต่อต้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ของหลายๆ ประเทศพอที่จะสรุปได้ 3 ลักษณะการกระทำที่กฎหมายได้กำหนดโทษไว้ในฐานความผิดอันเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
(1) การเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์, ทำการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้เสียหายซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยเจตนากระทำการละเมิดอย่างร้ายแรง เช่น ในกรณีที่ผู้ใดได้เจาะระบบ หรือแฮก (hacking) คอมพิวเตอร์ของธนาคาร และเข้าถึงข้อมูลหมายเลขเครดิตการ์ด ซึ่งผู้กระทำการดังกล่าวมีเจตนาที่จะใช้ข้อมูลเพื่อการได้มา ซึ่งตัวทรัพย์อันมีมูลค่าเป็นเงินถือได้ว่า มีความผิดและอาจต้องได้รับโทษฐานฉ้อโกงด้วย
(2) การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยมิได้รับอนุญาต ในกรณีที่ผู้ใดประมาทเลินเล่อ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลจะทำให้ข้อมูลเสียหายหรือไม่ก็ตาม บทบัญญัติดังกล่าวนี้มีความมุ่งหมายที่จะ ให้ครอบคลุมถึงการกระทำผิดในหลายรูปแบบ เช่น การที่นักเจาะระบบ หรือแฮก- เกอร์ ได้เจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต และทำให้ข้อมูลในคอมพิวเตอร์เสียหาย
(3) การทำให้เสียหาย ซึ่งการสื่อสาร ทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการใช้กลอุบายด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทำให้การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ขัดข้อง เช่น โดยการโจมตีด้วยการส่งอี-เมล์อันไม่พึงประสงค์เป็นจำนวนมากไปยังเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง จนเป็นเหตุให้เซิร์ฟเวอร์ของระบบดังกล่าวล้มเหลวในการทำงานหรือไม่สามารถให้บริการได้ การกระทำเช่นนี้บางครั้งเรียกว่า การทำให้ระบบปฏิเสธการให้บริการ (Distributed denial of services)


ที่มา : http://board.dserver.org/u/uthaisak2/00000139.html

วันหยุดสุดสบาย.....

วัน เสาร์
ตื่นนอนตอน 07.00 น. อาบน้ำ ดูสังทอง พอจบแล้วไปเที่ยวตลาดนัด กลับจากตลาดนัดตอนบ่าย ๆ กินข้าวเที่ยง เสร็จแล้ว พิมพ์โครงงาน ประมาณ 7 หน้า จนเย็นยังไม่เสร็จ ตอนเย็นขี่รถเล่นชมวิวและก็กลับบ้าน มาอาบน้ำ กินข้าว แล้วก็นอน

วัน อาทิตย์
ตื่นนอนตอน 06.30 น. ล้างหน้า แปลงฟัน ซักผ้า ดูสังทอง ตอน 08.00 พอจบแล้วก็อาบน้ำ กินข้าว ดูทีวี เรื่อง ผู้กองเจ้าเสน่ห์ จากนั้นพิมพ์โครงงาน ต่อจนเย็น ตอนเย็นขี่รถเล่นและก็กลับบ้าน พาหมาไปเที่ยว มาอาบน้ำ กินข้าว แล้วก็นอน

DHCP คืออะไร ..

DHCP มาจาก Dynamic Host Configuration Protocol ซึ่งทำหน้าที่จ่าย IP ให้แก่เครื่องลูก (clients) โดยอัตโนมัติ สำหรับเน็ตเวอร์ที่มีเครื่องลูกหลายเครื่อง การกำหนด IP ให้แต่ละเครื่องบางครั้งก็ยากในการจดจำ ว่ากำหนด IP ให้ไปเป็นเบอร์อะไรบ้างแล้ว พอมีเครื่องเพิ่มเข้ามาในเน็ตเวอร์กใหม่ ต้องกลับไปค้น เพื่อจะ assign เบอร์ IP ใหม่ไม่ให้ซ้ำกับเบอร์เดิม DHCP Server จะทำหน้าที่นี้แทน โดยเครื่องลูกเครื่องไหนเปิดเครื่อง ก็จะขอ IP มายัง DHCP Server และ DHCP Server ก็จะกำหนด IP ไปให้เครื่องลูกเอง โดยไม่ซ้ำกัน

การติดตั้ง DHCP Server บน Windows Server 2003การกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสให้กับเครื่องไคลเอนต์บนระบบเครือข่ายนั้น เป็นหน้าที่หนึ่งของแอดมิน ในกรณีที่เครื่องไคลเอนต์มีจำนวนไม่มาก ตั้งอยู่ในห้องเดียวกันหรือในบริเวณใกล้ๆ กัน การกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสแบบแมนนวลนั้นก็สามารถทำได้โดยไม่มีความซัลซ้อนอะไร แต่ถ้าเครื่องไคลเอนต์มีจำนวนมาก และตั้งอยู่หลายที่หรือห่างไกลกันการกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสแบบแมนนวลนั้นคงเป็นเรื่องยาก การแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสแบบอัตโนมัติโดยใช้บริการแจกจ่ายหมายเลขไอพีให้เครื่องไคลเอนต์ด้วย DHCP Server ซึ่งเป็นฟีเจอร์หนึ่งที่มีใน Windows Server 2003

การติดตั้ง DHCP Serverบริการ DHCP Server นั้น ก็เหมือนกับบริการอื่นๆ ของ Windows Server2003 คือจะไม่ถูกติดตั้งโดยดีฟอลท์ โดยวิธีการติดตั้ง DHCP Server นั้น ให้ไปที่ Manage Your Server แล้วคลิกที่ Add or remove role จะได้หน้าต่าง Configure Your Wizard ซึ่งจะช่วยในการ Add or remove a role

ขั้นตอนการติดตั้ง DHCP Serverการติดตั้ง DHCP Server มีขั้นตอนดังนี้1. ในหน้าต่าง Manage Your Server ให้คลิกที่ Add or remove a role2. ในหน้าต่าง Preliminary Steps ให้คลิกปุ่ม Next3. ในหน้าต่าง Server Role ให้คลิกเลือก DHCP Server แล้วคลิกปุ่ม Next4. ในหน้าต่าง Summary of Selections ให้คลิกปุ่ม Next5. ในหน้าต่าง Configuring Components ให้รอจนระบบทำงานเสร็จเรียบร้อย แล้วให้คลิก Next 7. ในหน้าต่าง Applying Selections ระบบจะทำการเพิ่ม Role ให้กับ Server ให้รอจนกว่าระบบงานเสร็จเรียบร้อย แล้วให้คลิก Next7. ในหน้าต่าง Welcome to the New Scope Wizard คลิก Cancel ออกจากการสร้าง Scope แล้วให้เลือก Finish

ที่มา : http://thaiwinadmin.blogspot.com/2008/06/kb2008255.html

IPv6 คืออะไร

ความเป็นมา ของ อินเทอร์เน็ต โพรโตคอลรุ่นที่ 6 (IPv6)

ไอพีเวอร์ชันที่ 6 (IPv6) ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยจุดประสงค์หลักในการแก้ปัญหาการขาดแคลนจำนวนหมายเลขไอพีซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชันที่ 4 ซึ่งในมาตรฐานของเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิตในการระบุหมายเลยไอพี

IPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ Internet Protocol และได้รวมผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน IP มาเป็นส่วนหนึ่งด้วย รวมถึงระบบปฏิบัติการหลัก IPv6 ได้รับการเรียกว่า "IPng" (IP Next Generation) โดยปกติ IPv6 เป็นกลุ่มของข้อกำหนดจาก Internet Engineering Task Force (IETF) โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน 4 โดย host ของเครือข่ายและ node แบบ intermediate ซึ่ง IPv4 หรือ IPv6 สามารถดูแลแพ็คเกตของ IP เวอร์ชันอื่น ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถปรับรุ่นเป็น IPv6 โดยอิสระ การปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่ายIP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็น 3 ประเภทคือ unicast (host เดี่ยวไปยัง host เดี่ยวอื่น ๆ) anycast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัวที่ใกล้ที่สุด) multicast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัว) ส่วนเพิ่มที่พิเศษของ IPv6 คือ- ตัวเลือกในการระบุส่วนขยายของส่วนหัว ได้รับการตรวจสอบเฉพาะจุดหมาย ดังนั้นความเร็วของระบบเครือข่ายสูงขึ้น - ตำแหน่ง anycast ทำให้มีความเป็นไปได้ของการส่งข้อความไปยังหลาย ๆ gateway ที่ใกล้ที่สุดด้วยแนวคิดว่าให้บุคคลใด ๆ บริหารการส่งแพ็คเกตไปยังบุคคลอื่น anycast สามารถใช้ในการปรับปรุงตาราง routing ตลอดเส้นทาง - แพ็คเกตได้รับการระบุให้มีการไหลชนิดพิเศษได้ ทำให้แพ็คเกตที่เป็นส่วนของมัลติมีเดียที่ต้องการ นำเสนอแบบ real time สามารถมีคุณภาพการให้บริการที่สูง - ส่วนหัวของ IPv6 รวมถึงส่วนขยายยินยอมให้แพ็คเกตระบุกลไกแหล่งต้นทาง สำหรับการรวมข้อมูล และรักษาความลับ

ที่มา : http://www.widebase.net/knowledge/itterm/it_term_desc.php?term_id=IPv6

IPv4 คืออะไร



IP Address version4 (IPv4)

IPv4 มีขนาด 32 bit ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 bitClassful Addressingเริ่มแรกเลย IPv4 มีการแบ่ง IP Address ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Network ID และ Host ID ซึ่งการแบ่งเป็น 2 ส่วนนี้ (Two-level addressing hierarchy) จะมีชื่อเรียกว่า Classful addressing อย่างไรก็ตามการนำ IP Address แบ่งเป็น2 ส่วนนี้ ทำให้การใช้งาน IP Address ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งจะกล่าวถึงในภายหลังต่อไปแล้ว Network ID กับ Host ID คืออะไรหล่ะ

Network ID คือ Network ID ของ IP Address จะเป็นส่วนที่ระบุว่าอุปกรณ์อยู่ในโครงข่ายใด และ Network ID จะเป็นส่วนที่ Router ใช้สำหรับหาเส้นทาง (เช่น 192.168.1 เขียนเต็มรูปแบบคือ 192.168.1.0)Host ID คือ Host ID ของ IP Address จะเป็นส่วนที่ระบุว่าอุปกรณ์อยู่ในตำแหน่งใดของ Network (เช่น .2 เขียนเต็มรูปแบบคือ 192.168.1.2)ยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจมากขึ้น1.1) กรณีเราที่จดหมาย เราก็จะจ่าที่อยู่ที่หน้าซองดังนี้18 ถ.รังสิต-องครักษ์ ธัญบุรี ปทุมธานี 121301.2) จดหมายจะถูกส่งไปยังที่ทำการไปรษณีย์ จากนั้นก็จะดูว่ารหัสไปรษณีย์อะไร- ถ้าเป็นรหัสไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์นั้น จดหมายก็จะถูกส่งต่อไปยังบ้านปลายทางเลย- ถ้าเป็นรหัสไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์อื่น จดหมายก็จะถูกส่งต่อไปยังที่ทำการไปรณีย์ปลายทาง จากนั้นจดหมายจึงจะถูกส่งต่อไปยังบ้านปลายทางต่อไป2.1) กรณีเราส่ง E-mail เราก็จะทำการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง เราก็จะกรอก url (จริงก็คือ IP Address) ดังนี้192.168.1.22.2) ข้อมูลจะถูกส่งไปยัง Router จากนั้น Router ก็จะดูว่าเป็น

Network ID อะไร- ถ้าเป็น Network ID ของ Router นั้น ข้อมูลก็จะถูกส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางที่อยู่ภายใน Router- ถ้าเป็น Network ID ของ Router อื่น ข้อมูลก็จะถูกส่งต่อไปยัง Router ปลายทาง จากนั้นข้อมูลจึงจะถูกส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อไปสรุป1. IPv4 จะมีกลุ่มตัวเลขอยู่ 4 ชุด แต่ละชุดขั้นด้วยจุด2. Classful Addressing จะมีรูปแบบเป็น 2 ส่วนคือ Network ID กับ Host ID3. Network ID คือส่วนที่ระบุว่า IP Address อยู่ในโครงข่ายใด และเป็นส่วนที่ Router ไว้ใช้ค้นหาเส้นทาง4. Host ID คือส่วนที่ระบุว่าคอมพิวเตอร์อยู่ที่ตำแหน่งใดของ Network

FTP คืออะไร


FTP (File Transfer Protocol)
FTP (File Transfer Protocol) คือ เครื่องบริการการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกเข้าใช้ แต่บางเครื่องอาจให้เป็นผู้ใช้ทั่วไปเข้าใช้ โดยใช้รหัสสมาชิก anonymous ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าเป็นรหัสผู้ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม FTP คือ โปรโตคอลสำหรับถ่ายโอนข้อมูล โดยเครื่องที่เปิดบริการ FTP จะเปิด TCP port 21 ไว้ การเชื่อมต่อของ FTP มี 2 mode
เอฟทีพี (FTP = File Transfer Protocal) คือ อะไร
โปรแกรมที่ใช้สำหรับส่งแฟ้ม (Send) หรือรับแฟ้ม (Receive) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ (Client Computer) กับเครื่องบริการ (Web Hosting) ผู้ให้บริการมักเปิดบริการ Port 21 พร้อมสร้างรหัสผู้ใช้(User Name) และรหัสผ่าน(Password) ให้ผู้ใช้แต่ละคนได้เป็นเจ้าของพื้นที่แต่ละห้อง (User Folder) เมื่อส่งแฟ้มชื่อ index.html หรือ default.asp ตามที่เครื่องบริการกำหนด เข้าไปในห้องสำหรับเผยแพร่เว็บเพจ ผู้ใช้ทั่วไปก็จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามที่ผู้พัฒนาเว็บเพจคาดหวัง

1. FTP standard mode

คือ การเชื่อมต่อที่ server เชื่อมต่อกับ client ผ่าน port 20 เป็น Out going port ส่วน port ฝั่ง client จะแล้วแต่ตกลงกัน แต่ถ้า client มี firewall ที่ไม่บริการ FTP ก็จะติดต่อไม่ได้

2. FTP passive mode

คือ การเชื่อมต่อที่ client เป็นผู้เชื่อมต่อไปยัง server เพื่อใช้หมายเลข port ที่แล้วแต่จะตกลงในการส่งข้อมูล
ที่มา : http://web.sut.ac.th

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Hello ทุกคน



สวัสดีคะ ทุก ๆคน